GaN เสถียรภาพและประสิทธิภาพที่ดีกว่า รองรับการใช้งานในอนาคต
ณ ปัจจุบัน ผู้ผลิตนำเสนออุปกรณ์ Solid-State technology แบบใหม่ชื่อ Gallium Nitride (GaN) เพื่อใช้งานสำหรับการสื่อสารผ่านดาวเทียมมากขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้เรามาทำความรู้จักเทคโนโลยีของ GaN กัน ว่าทำไมเทคโนโลยีนี้ถึงเริ่มเป็นที่นิยมและกำลังจะพลิกโฉมการใช้งาน Amplifier ชนิดเก่าๆ อย่างไร
หลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี Traveling Wave Tube Amplifier (TWTA) และ Gallium Arsenide (GaAs) ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทางด้านขยายกำลังส่งสัญญาณของการสื่อสารดาวเทียม โดยเทคโนโลยี TWTA นิยมนำมาใช้กับงานขยายกำลังส่งสูง เช่น Gateway ดาวเทียม ส่วนเทคโนโลยี GaAs นิยมนำมาใช้กับงานสถานีที่ใช้กำลังส่งต่ำ เช่น remote VSAT terminal
แนวโน้มการใช้งานการสื่อสารดาวเทียมในปัจจุบันนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก รองรับการใช้งานหลากหลาย application มากขึ้น เช่น ใช้เพื่อการเฝ้าดูสภาพอากาศ การสื่อสารบนอากาศยาน โดรนขนาดเล็ก ใช้สำหรับการสื่อสารทางทะเล การสื่อสารทางความมั่นคง ภารกิจทางการทหาร และการนำทาง เป็นต้น เนื่องจากมีการเใช้งานต่าง ๆ เหล่านี้มากขึ้น อุปกรณ์จึงพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบา พกพาสะดวก แต่ยังคงไว้ซึ่งการให้กำลังส่งสัญญาณที่สูง เพื่อรองรับการใช้งานข้อมูลแบบอัตราสูง ในการสื่อสารผ่าน 5G และ Ultra-HD TV ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ผลิตต้องพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมารองรับการใช้งานเหล่านี้ได้อย่างมีเสถียรภาพ พร้อมทั้งราคาที่สมเหตุสมผล
ข้อได้เปรียบของ GaN Amplifier สำหรับด้านการสื่อสารดาวเทียม
- ความมีเสถียรภาพและความคงทน เป็นหัวใจหลักของการใช้งาน เทคโนโลยี GaN เสถียรและคงทนกว่า TWTA เนื่องด้วยหาก TWTA หลอดส่งกำลังชำรุดเสียหายหรือเสื่อมสภาพ จะทำให้ประสิทธิภาพตกลงทั้งหมด ส่วนการทำงานพื้นฐานของ GaN มีการรวมกำลังที่ได้จาก Transistors หลายตัวเข้าด้วยกัน ดังนั้น หาก Transistor ตัวใดชำรุดเสียหาย ประสิทธิภาพโดยรวมจะตกลงแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของ transistor แต่ละตัวนั้นใช้ได้ยาวนานมากถึง 100 ปี
การที่ GaN มีประสิทธิภาพในการให้กำลังการขยายสูง ทำให้ความร้อนที่ออกจากตัวอุปกรณ์ลดน้อยลงด้วย ส่งผลให้ไม่ต้องใช้พัดลมลดความร้อนและอุปกรณ์ครีบระบายอากาศ ทำให้สามารถผลิตอุปกรณ์ได้ขนาดที่เบาและเล็กลงอย่างมาก - TWTA จะต้องใช้เวลาอุ่นตัวหลอดในขณะที่เปิดเครื่องซึ่งใช้เวลานานถึงหลายนาที เพื่อเริ่มต้นการใช้งาน ทำให้การทำงานถูกขัดจังหวะ และเมื่อตั้งค่าทำงานแบบ 1:1 redundancy ทำให้ระบบมีระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ชั่วขณะจากการเปลี่ยนการทำงานจากตัว Main มาสู่ตัว Standby
- TWTA ต้องการแหล่งจ่ายไฟขนาดใหญ่ในหน่วยของ kV ซึ่งมีอัตราการสิ้นเปลืองไฟฟ้าค่อนข้างสูง ในขณะที่ GaN ไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟขนาดใหญ่
- สำหรับการเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีของ GaaS นั้น มีหัวข้อหลักคือ เรื่องของการผลิตความหนาแน่นของกำลังส่งด้านขาออก ซึ่ง GaN สามารถผลิตกำลังส่งที่หนาแน่นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ chip ขนาดเท่ากัน จึงมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า ดังตารางข้อมูลอ้างอิง ด้านล่าง
Parameter |
GaN |
GaAs |
Full Form | Gallium Nitride | Gallium Arsenide |
Power Density (Output) | 4 to 8 Watt/mm | 0.5 to 1.5 Watt/mm |
Operating Voltage | 28 to 48 Volt | 5 to 20 Volt |
Breakdown Voltage | > 100 Volt | 20 to 40 Volt |
Current (Maximum) | About 1 Ampere/mm | About 0.5 Ampere/mm |
Thermal Conductivity | 390 (z), 490 (SiC) | 47 |
Radiation Resistant Performance | Better | Lesser |
บทสรุป
GaN เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับ Application ของตลาดการสื่อสารดาวเทียมในอนาคต ที่จะเข้ามาทดแทนเทคโนโลยีเก่า เนื่องด้วยความมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพที่ดีกว่าของ TWTA และ GaAs ทั้งขนาดของอุปกรณ์ที่เล็กลง การผลิตกำลังส่งที่เพิ่มขึ้น โดยใช้กำลังไฟฟ้าลดลงอย่างมาก ดังนั้น ผู้ผลิตอุปกรณ์การสื่อสารดาวเทียมในตลาดปัจจุบันจึงมุ่งผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยี GaN ออกสู่ตลาดเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งานในอนาคต