การกำกับดูแลกิจการที่ดี
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าเป็นกลไกลสำคัญในการนำไปสู่การมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยการมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ในระยะยาว ดังนั้น บริษัทฯ จึงกำหนดให้มีนโยบายในการกำกับกิจการดูแลที่ดี ตามที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทฯ เริ่มมีนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีตั้งแต่ปี 2556 ตามการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 6/2556 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 โดยฝ่ายจัดการได้ดำเนินการทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเสนอให้คณะกรรมการบริษัทอนุมัติทุกปี ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies) ตั้งแต่ปี 2558 และได้รับคะแนนเฉลี่ยโดยรวมจากการประเมินการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย (CGR) ประจำปี 2558 – 2563 ดังนี้
ปี | คะแนนเฉลี่ยโดยรวม(ร้อยละ) | ระดับคะแนน | ||
บริษัทจดทะเบียนรวม | PLANET | |||
2558 | 75 | 73 | ดี | ดี |
2559 | 78 | 78 | ดี | ดี |
2560 | 80 | 89 | ดีมาก | ดีมาก |
2561 | 81 | 91 | ดีเลิศ | ดีเลิศ |
2562 | 82 | 92 | ดีเลิศ | ดีเลิศ |
2563 | 83 | 91 | ดีเลิศ | ดีเลิศ |
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ครอบคลุมหลักการ 5 หมวด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
หมวดที่ 1
สิทธิของผู้ถือหุ้น
(The Rights of Shareholders)
บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญในสิทธิพื้นฐานต่างๆ ของผู้ถือหุ้น ได้แก่ สิทธิการซื้อขายหรือโอนหุ้น สิทธิในการที่จะได้รับส่วนแบ่งกำไรของกิจการ สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารของกิจการอย่างเพียงพอ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และเรื่องที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ เช่น การจัดสรรเงินปันผล การกำหนดหรือการแก้ไขข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ การลดทุนหรือเพิ่มทุน เป็นต้น
นอกเหนือจากสิทธิพื้นฐานต่างๆ ข้างต้นแล้ว บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น
- จัดส่งหนังสือนัดประชุมให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุมอย่างน้อย 7 วัน หรืออย่างน้อย 14 วัน ในกรณีที่มีมติพิเศษ โดยจะระบุวัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุม ตลอดจนข้อมูลประกอบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องตัดสินใจในที่ประชุมอย่างครบถ้วน
- ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระหรือบุคคล ใดๆ เข้าร่วมประชุมแทนตนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะแบบหนึ่งแบบใดที่บริษัทฯ ได้จัดส่งไปพร้อมหนังสือนัดประชุม
- เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ได้อย่างเต็มที่และอิสระ
- เมื่อการประชุมแล้วเสร็จ บริษัทฯ จะจัดทำรายงานการประชุมโดยแสดงข้อมูลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้
โดยบริษัทฯ ได้ระบุความเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯ ไว้ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และจัดส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในระยะเวลาที่ ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์กำหนด เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีเวลาศึกษาข้อมูลล่วงหน้าก่อนการประชุม นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ เว็บไซต์ของบริษัทฯ (www.planetcomm.com) และการลงข่าวสารในหนังสือพิมพ์ตามพระราชบัญญัติมหาชนจำกัด ทั้งนี้ บริษัทฯ มีนโยบายที่จะให้คณะกรรมการบริษัทฯ เข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นโดยพร้อมเพรียงกัน โดยเฉพาะประธานอนุกรรมการชุดต่างๆ เช่น ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล เป็นต้น เพื่อร่วมชี้แจงหรือตอบข้อซักถามของผู้ถือหุ้นในที่ประชุม
หมวดที่ 2
การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
(The Equitable Treatment of Shareholders)
บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติและคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นที่ไม่เป็นผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยหรือผู้ถือหุ้นต่างชาติ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัทฯ มีนโยบายที่จะเพิ่มทางเลือกในการประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง สามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระหรือบุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงแทนผู้ถือหุ้นได้ รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการล่วงหน้าในเวลาอันสมควร
การดำเนินการประชุมจะเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทฯ ตามลำดับวาระการประชุม โดยจะมีการเสนอรายละเอียดในแต่ละวาระอย่างครบถ้วน พร้อมแสดงข้อมูลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน รวมทั้งจะไม่เพิ่มวาระการประชุมที่ไม่มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะวาระที่มีความสำคัญที่ผู้ถือหุ้นต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในโดยมิชอบ (Insider Trading) ของบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึง กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง รวมตลอดถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล รวมถึงได้กำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ หรือนำข้อมูลของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนไว้แล้วตามนโยบายการป้องกันการนำข้อมูลภายในไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งได้ให้ความรู้แก่กรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ เกี่ยวกับภาระหน้าที่ในการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ในบริษัทฯ ของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตลอดจนการรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 และบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
หมวด 3
บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(The Role of Stakeholders)
บริษัทฯ มีนโยบายในการให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มด้วยความเป็นธรรมอย่างโปร่งใส เพื่อสร้างความพึงพอใจต่อทุกฝ่าย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ผู้ถือหุ้น
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมให้กับผู้ถือหุ้นและเพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับองค์กร
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยึดหลักการปฏิบัติอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้นด้วยความตระหนักและให้ความสำคัญในสิทธิพื้นฐานต่างๆ ของผู้ถือหุ้น ได้แก่ สิทธิการซื้อขายหรือโอนหุ้น สิทธิในการที่จะได้รับส่วนแบ่งกำไรของกิจการ สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารของกิจการอย่างเพียงพอ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ แต่งตั้งผู้สอบบัญชีและเรื่องที่มีผลกระทบต่อบริษัท เช่น การจัดสรรเงินปันผล การกำหนดหรือการแก้ไขข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ การลดทุนหรือเพิ่มทุน เป็นต้น
พนักงาน
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติกับพนักงานอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม พร้อมจัดให้มีการอบรม พัฒนาความรู้ความสามารถแก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาทักษะในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงซึ่งเป็นตามนโนบายของบริษัท อีกทั้งมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานสวัสดิการอื่นๆ เช่น โบนัส การประกันสุขภาพประกันชีวิต เป็นต้น โดยปี 2559-2561 จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยของการฝึกอบรมของพนักงานต่อปี เท่ากับ 12 ชั่วโมงต่อคน 9.30 ชั่วโมงต่อคน และ 6.19 ชั่วโมงต่อคน ตามลำดับ ในปี 2561 จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยการฝึกอบรมของพนักงานลดลงเนื่องจากบริษัทดำเนินการควบคุมงบประมาณและลดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ในปี 2561 ไม่มีการเกิดอุบัติเหตุ การหยุดงานหรือเจ็บป่วยจากการทำงานของพนักงานบริษัท
นอกจากนี้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญในความปลอดภัยในชีวิตและสุขอนามัยของพนักงาน ดังนี้
- บริษัทมุ่งมั่น พัฒนา ระบบความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย
- บริษัทจะดำเนินการเพื่อควบคุมและป้องกันการสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุอัคคีภัย และความเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงาน ตลอดจนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยต่อพนักงาน
- บริษัทได้สนับสนุนทรัพยากร อย่างเพียงพอและเหมาะสมตามข้อกำหนดของกฎหมายโดยมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้และสร้างจิตสำนึกในด้านความปลอดภัย และสุขอนามัยของพนักงาน
- ความปลอดภัย และสุขอนามัยของพนักงานเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ และพนักงานทุกคน จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อกำหนดของกฎหมาย
คู่ค้า
การดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าใดๆ ต้องไม่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ หรือกฎหมายใดๆ บริษัทฯ คำนึงถึงความเสมอภาคในการดำเนินธุรกิจ และผลประโยชน์ร่วมกันกับคู่ค้า และบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการค้า รวมถึงการปฏิบัติตามสัญญาต่อคู่ค้าอย่างจริงใจ และไม่เอารัดเอาเปรียบ
บริษัทมีกระบวนการและหลักเกณฑ์คัดเลือกคู่ค้า เพื่อวิเคราะห์และประเมินคู่ค้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้
- การคัดเลือกคู่ค้า/ผู้ขาย พิจารณาจากเรื่องคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ ความต้องการของตลาด การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของคู่ค้า ชื่อเสียงของคู่ค้า ราคาความช่วยเหลือทางด้านการตลาด เงื่อนไขทางการค้า และการจัดส่งผลิตภัณฑ์
- การประเมินคู่ค้า บริษัทจะประเมินคู่ค้าทุกๆ ไตรมาสแรกของปี โดยจะเลือกประเมินเฉพาะคู่ค้าหลักๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- นอกจากนี้บริษัทมีการกระบวนการจ้างเหมาช่วง เพื่อคัดเลือกผู้รับเหมาช่วงโดยคณะกรรมการคัดเลือกผู้รับเหมาช่วงจะกำหนดประเภทงานต้องการจะจ้างเหมาและเปิดรับสมัครผู้รับเหมาช่วง และคณะกรรมการคัดเลือกผู้รับเหมาช่วงจะพิจารณาและประเมินเพื่อให้เหมาะสมกับประเภทงาน แล้วจึงจัดทำทะเบียนผู้รับเหมาช่วง
เจ้าหนี้
บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงทางการเงินอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับเจ้าหนี้ ในการชำระคืนหนี้ เงินกู้ยืม ดอกเบี้ยและความรับผิดชอบในหลักประกันต่างๆ
ลูกค้า
บริษัท มีความมุ่งมั่นที่จะเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อลูกค้า เช่น การให้บริการที่เท่าเทียม การจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ การรักษาความลับของลูกค้าโดยบริษัทฯ มีหน่วยงานหรือบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อรีบดำเนินการให้แก่ลูกค้าโดยเร็วที่สุด รวมทั้งมุ่งมั่นสร้างความพึงพอใจและความมั่นใจให้กับลูกค้าที่จะได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีมีคุณภาพในระดับราคาที่เหมาะสม รวมทั้งรักษาสัมพันธภาพที่ดีและยั่งยืน
คู่แข่งทางการค้า
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะประพฤติตามกรอบกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรม รักษาบรรทัดฐานของข้อพึงปฏิบัติในการแข่งขัน และหลีกเลี่ยงวิธีการไม่สุจริตเพื่อทำลายคู่แข่ง
ชุมชนและสังคม
บริษัทฯ ส่งเสริมและดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านความปลอดภัย คุณภาพชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม โดยแบ่งปันผลกำไรส่วนหนึ่งเพื่อตอบแทนและสร้างสรรค์ชุมชนและสังคม
สิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ คำนึงถึงการดำเนินธุรกิจที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการเลือกเทคโนโลยี และพัฒนานวัตกรรมที่จะส่งเสริมการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านโครงการ “We Care” ในหัวข้อ Care Planet โดยมีรายละเอียดตามความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งบริษัทฯ ได้มีการคัดแยกขยะเป็น 4 ประเภท คือ
- ขยะย่อยสลาย หรือ มูลฝอยย่อยสลาย
- ขยะรีไซเคิล หรือขยะมูลฝอยที่ยังใช้ได้
- ขยะทั่วไป
- ขยะอันตราย
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ยึดแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน ตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ขององค์กรสหประชาชาติซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อพนักงานของบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรือลิขสิทธิ์ สามารถอ่านรายละเอียดกิจกรรมของบริษัทเกี่ยวกับชุมชนและสังคมได้จากหัวข้อ “ความรับผิดชอบต่อสังคม”
หมวดที่ 4
การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
(Disclosure and Transparency)
คณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใส ทั้งรายงานข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทั่วไปตามหลักเกณฑ์ของก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนข้อมูลที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ซึ่งมีผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ทั้งหมดได้รับทราบข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน บริษัทฯ จะทำการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศของบริษัทฯ ต่อผู้ถือหุ้น และสาธารณชนผ่านช่องทางและสื่อการเผยแพร่ข้อมูลของ ตลาดหลักทรัพย์ และเว็บไซต์ของบริษัทฯ
ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท จัดให้มีวาระทบทวนการถือครองหลักทรัพย์ “PLANET” ของกรรมการและผู้บริหารทุกไตรมาส ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 คณะกรรมการบริษัท (รวมผู้ที่เกี่ยวข้อง) มีการถือหุ้นจำนวน 173,540,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 69.42% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
โดยปี 2560 – 2562 กรรมการบริษัท และผู้บริหาร ได้ถือครองหลักทรัพย์ของบริษัท ดังนี้
รายชื่อกรรมการ และผู้บริหารระดับสูง |
ตำแหน่ง | จำนวนหุ้นที่ถือ (หุ้น) ณ วันที่ 31 ธันวาคม | หมายเหตุ | ||
2560 | 2561 | 2562 | |||
ดร.รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ | ประธานกรรมการ, กรรมการอิสระ | – | – | – | ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทมีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2561 |
นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ | กรรมการ รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหารและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร | 78,950,000 | 78,950,000 | 78,950,000 | รวมผู้ที่เกี่ยวข้อง |
นายเทรเวอร์ จอห์น ทอมสัน | กรรมการ รองประธานกรรมการบริหารและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี | 78,950,000 | 78,950,000 | 78,950,000 | รวมผู้ที่เกี่ยวข้อง |
ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช | กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการบริหารความเสี่ยงและกรรมการสรรหาฯ | – | – | – | ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทมีผลตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2561 |
นางสุธารักษ์ สุนทรภูษิต | กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงและกรรมการสรรหาฯ | 50,000 | 50,000 | 50,000 | |
นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ | กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการบริหารความเสี่ยงและประธานกรรมการสรรหาฯ | – | – | – | |
นายธิบดี มังคะลี | กรรมการอิสระ และ กรรมการตรวจสอบ | – | – | – | ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทมีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2561 |
นางรัตนา สุวรรณ | รองกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและบัญชี | – | 5,120,000 | 5,120,000 | ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 |
นายสาธิต รัฐเลิศกานต์ | รองกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายขาย | 10,390,000 | 10,483,900 | 10,460,000 | |
นางสาววรรณภา วีระเจริญ | ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ | – | – | – | |
นายวีรศักดิ์ อาทรชัยกุล | ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ | 10,000 | 10,000 | 10,000 |
คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อรายงานงบการเงินที่มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน เป็นจริง และสมเหตุสมผล งบการเงินของบริษัทฯ จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวัง รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน นอกจากนี้ คณะกรรมการได้จัดให้มีการดำรงรักษาไว้ซึ่งระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจได้อย่างมีเหตุผลว่าการบันทึกข้อมูลทางการบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน และเพื่อให้ทราบจุดอ่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือการดำเนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ รวมถึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบรายงานทางการเงิน รายการระหว่างกัน และระบบควบคุมภายใน โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริษัท
ในส่วนของงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัทฯ ยังไม่ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเนื่องจากกิจกรรมในเรื่องดังกล่าวยังมีไม่มากนัก แต่ได้มอบหมายให้นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ ทำหน้าที่ในการติดต่อและให้ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้ถือหุ้นนักวิเคราะห์ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริง และทั่วถึง
ทั้งนี้ ในปี 2562 บริษัทฯได้รายงานผลประกอบการรายไตรมาสผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้จัดทำจดหมายข่าวเกี่ยวกับผลประกอบการจำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 3-5 ฉบับ
หมวดที่ 5
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
(Responsibilities of the Board of Directors)
1. โครงสร้างและคณะกรรมการ
คณะกรรมการของบริษัท ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่มีความหลากหลายในระดับตำแหน่งผู้บริหารจากองค์กรต่างๆ โดยไม่คำนึงเพศ และอายุ จึงสามารถนำประสบการณ์ ความรู้ความสามารถมาพัฒนาและกำหนดนโยบายทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น โดยคณะกรรมการบริษัทฯ จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและภาพรวมขององค์กร ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตามผลการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการและประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และเพื่อให้กรรมการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรรมการบริษัทแต่ละคนจะดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนได้ไม่เกิน 5 แห่ง
โครงสร้างคณะกรรมการบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 บริษัทฯ มีกรรมการทั้งสิ้นจำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วย กรรมการอิสระและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารจำนวน 5 ท่าน (มากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ) ซึ่งรวมกรรมการตรวจสอบจำนวน 4 ท่าน และกรรมการที่เป็นผู้บริหารจำนวน 2 ท่าน นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทฯ ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เพื่อช่วยในการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ดังนี้
1.1 คณะกรรมการบริหาร บริษัทฯ มีกรรมการบริหารทั้งสิ้น 2 ท่าน โดยคณะกรรมการบริหารจะเป็นผู้กำหนดแนวทางและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดโดยคณะกรรมการบริษัทฯ และเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างคล่องตัว
1.2 คณะกรรมการตรวจสอบ บริษัทฯ มีกรรมการตรวจสอบทั้งสิ้น 4 ท่าน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเรื่องและเสนอเรื่องให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาและรับทราบ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีสิทธิหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 ท่าน มีความรู้และประสบการณ์ด้านบัญชีเพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินของบริษัทฯ ได้
1.3 คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล (คณะกรรมการสรรหาฯ) คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาฯ บริษัทฯ มีกรรมการสรรหาฯ ทั้งสิ้น 3 ท่าน ซึ่งเป็นกรรมการอิสระ และดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการสรรหาฯ กรรมการสรรหาฯมีวาระดำรงตำแหน่งเช่นเดียวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งการ เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริษัท
1.4 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยเลือกจากกรรมการ และ/หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้กำหนดให้กรรมการบริหารความเสี่ยงที่ได้รับการแต่งตั้งคัดเลือกสมาชิก 1 ท่านให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์องค์กร การเงินการปฏิบัติงาน และปัจจัยภายนอก รวมถึงควบคุมติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการบริหารความเสี่ยง ให้บริษัทดำเนินการตามนโยบายบริหารความเสี่ยงที่กำหนดตลอดจนทบทวนความเพียงพอของนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยง ความมีประสิทธิผลของระบบ และการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด ทั้งนี้ จะต้องรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการบริษัท และรายงานการทำหน้าที่ในรอบปีที่ผ่านมาต่อผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปี นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้แต่งตั้งคณะทำงานบริหารความเสี่ยงซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการบริหาร โดยมีขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ คือ (1) ระบุความเสี่ยง ประเมินระดับของความเสี่ยง และทบทวนการบริหารความเสี่ยงควบคู่ไปกับแผนธุรกิจ หรือ Business Plan (2) ประมาณการผลกระทบ (3) กำหนดมาตรการเพื่อลดความเสี่ยง (4) ติดตามผลและการรายงานสถานะความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และ (5) สร้างวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงให้แก่พนักงานในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายให้ประธานกรรมการและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในด้านความรับผิดชอบระหว่างการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลและการบริหารงานประจำ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้แบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัทฯ กับผู้บริหารอย่างชัดเจน โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินงานของผู้บริหาร ขณะที่ผู้บริหารทำหน้าที่บริหารงานของบริษัทฯ ในด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันการมีอำนาจเบ็ดเสร็จ บริษัทฯ จึงได้กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรในอำนาจการดำเนินงานของบริษัท (Level of Authorization – LOA)
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งเลขานุการบริษัทฯ เพื่อให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
บริษัทฯ กำหนดให้กรรมการบริษัทฯ ปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน (Code of Best Practices) ตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการต้องเข้าใจและทราบถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตน และต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัทฯ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้กำหนดนโยบาย เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ แผนธุรกิจ งบประมาณ ตลอดจนทบทวนวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ของบริษัทฯในปีที่ผ่านมา และกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน และงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นโดยรวม
นโยบายเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์
บริษัทฯ มีการกำหนดมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำรายการระหว่างกันของบริษัทฯ และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ว่าผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องใดจะไม่สามารถเข้ามามีส่วนในการอนุมัติรายการดังกล่าวโดยคณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องดูแลให้บริษัทฯ ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องรวมตลอดถึงการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทฯ รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีโดยเคร่งครัด
นอกจากนี้ บริษัทฯ จะจัดให้คณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้สอบบัญชี หรือผู้เชี่ยวชาญอิสระ แล้วแต่กรณี พิจารณาตรวจสอบและให้ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของราคา และความสมเหตุสมผลของการทำรายการ และจะทำการเปิดเผยรายการระหว่างกันดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบ หรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ แบบแสดงรายงานข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) รวมทั้งคณะกรรมการบริษัทฯ ได้รับทราบรายงานการเปลี่ยนแปลงการมีส่วนได้เสียของกรรมการ และผู้บริหารทุกไตรมาส
ระบบการควบคุมภายใน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายในสำหรับทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ จึงได้มีการกำหนดขอบเขตหน้าที่และอำนาจดำเนินการอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร มีการควบคุมดูแลการใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในการอนุมัติ การบันทึกรายการบัญชีและข้อมูลสารสนเทศ และการจัดเก็บดูแลทรัพย์สินออกจากกัน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างกันอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการควบคุมภายในเกี่ยวกับระบบการเงิน โดยบริษัทฯ จัดให้มีระบบรายงานทางการเงินเสนอผู้บริหารสายงานที่รับผิดชอบ โดยฝ่ายตรวจสอบภายในจะเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบระบบการควบคุมภายใน และรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
บริษัทฯ มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนและสามารถวัดผลการดำเนินงานได้ โดยฝ่ายบริหารและจัดการจะมีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นประจำทุกเดือน โดยจะมีการประเมินปัจจัยความเสี่ยงทั้งที่มาจากภายนอกและภายในที่พบในการดำเนินงาน วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุและมีการกำหนดมาตรการในการติดตามเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัจจัยความเสีย่ ง รวมทัง้ มาตรการในการลดความเสี่ยง รวมถึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามความเสี่ยงนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง และรายงานความคืบหน้าต่อคณะกรรมการ
3. การประชุมคณะกรรมการ
3.1 คณะกรรมการบริษัท
บริษัทฯ มีนโยบายให้คณะกรรมการของบริษัทฯ ต้องประชุมอย่างน้อย 3 เดือน ต่อครั้ง และอาจมีการประชุมพิเศษเพิ่มเติมตามความจำเป็น โดยการประชุมแต่ละครั้งได้มีการกำหนดวาระในการประชุมอย่างชัดเจนและมีการส่งหนังสือนัดประชุมพร้อมรายละเอียดล่วงหน้า 7 วัน เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม รวมทั้งได้มีการจดบันทึกรายงานการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการบริษัทฯ พร้อมให้คณะกรรมการบริษัทฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้
บริษัทฯ ได้กำหนดตารางการประชุมคณะกรรมการบริษัทประจำปีเป็นการล่วงหน้าทั้งปี โดยแจ้งให้ที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อทราบกำหนดการประชุมดังกล่าว สำหรับปี 2562 คณะกรรมการฯ กำหนดให้มีประชุมรายเดือนทุกวันพฤหัสบดีที่สามของเดือนเวลา 18.00 น. ยกเว้นการประชุมที่มีวาระรับรองงบการเงินรายไตรมาส การประชุมจะจัดในวันพฤหัสบดีก่อนถึงวันกำหนดส่งงบการเงิน เวลา 09.00 น.
การประชุมของคณะกรรมการจะต้องประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงถือครบเป็นองค์ประชุม ทั้งนี้ ณ ขณะที่คณะกรรมการลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ณ วันที่ 31 มกราคม 2562 กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร ประกอบด้วย ดร.รัตติกร วรากูลศิริพันธ์ ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช นางสุทธารักษ์ สุนทรภูษิต นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ และนายธิบดี มังคะลี ได้มีการประชุมระหว่างกันเองโดยไม่มีฝ่ายจัดการร่วมด้วย เพื่ออภิปรายเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการบริษัท
ในปี 2560-2562 บริษัทฯ มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ จำนวน 11 ครั้ง จำนวน 9 ครั้ง และจำนวน 10 ครั้งตามลำดับ สำหรับปี 2562 กรรมการบริษัทเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทเฉลี่ยรวมของทั้งคณะ คิดเป็น ร้อยละ 94.29 โดยมีรายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่าน มีดังนี้
รายชื่อกรรมการ | จำนวนครั้งที่เข้าประชุม / จำนวนการประชุมรวม | |||||
2560 | 2561 | 2562 | ||||
ดร.รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ (1) | – | – | 5/9 | 100% | 10/10 | 100% |
นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ | 11/11 | 100% | 9/9 | 100% | 10/10 | 100% |
นายเทรเวอร์ ทอมสัน | 9/11 | 82% | 8/9 | 89% | 8/10 | 80% |
ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช (2) | – | – | 8/9 | 100% | 10/10 | 100% |
นางสุธารักษ์ สุนทรภูษิต | 9/11 | 82% | 9/9 | 100% | 8/10 | 80% |
นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ | 11/11 | 100% | 9/9 | 100% | 10/10 | 100% |
นายธิบดี มังคะลี (3) | – | – | 5/9 | 100% | 10/10 | 100% |
หมายเหตุ:
(1) ดร.รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท และกรรมการอิสระ มีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2561
(2) ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท และกรรมการอิสระ มีผลตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2561
(3) นายธิบดี มังคะลี ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท และกรรมการอิสระ มีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2561
3.2 คณะกรรมการตรวจสอบ
ในปี 2560 – 2562 บริษัทฯ มีการจัดประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทุกไตรมาสจำนวน 5 ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง และ จำนวน 7 ครั้งต่อปี ตามลำดับ โดยรายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่าน มีดังนี้
รายชื่อกรรมการ | จำนวนครั้งที่เข้าประชุม / จำนวนการประชุมรวม | ||
2560 | 2561 | 2562 | |
ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช (1) | – | 4/6 | 7/7 |
นางสุธารักษ์ สุนทรภูษิต | 5/5 | 6/6 | 5/7 |
นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ (2) | – | 4/6 | 7/7 |
นายธิบดี มังคะลี (3) | – | 2/6 | 7/7 |
หมายเหตุ:
(1) ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการตรวจสอบ มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
(2) นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
(3) นายธิบดี มังคะลี ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ มีผลตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2561
3.3 คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 ได้มีมติอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล (คณะกรรมการสรรหาฯ) โดยคณะกรรมการสรรหาฯ จะต้องจัดให้มีการประชุมไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี โดยกรรมการต้องมาประชุมด้วยตนเอง
ในปี 2560 – 2562 บริษัทฯ จัดประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ จำนวน 1 ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง และ จำนวน 2 ครั้ง ตามลำดับ โดยรายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่าน มีดังนี้
ชื่อ – นามสกุล | ตำแหน่ง | จำนวนครั้งที่เข้าประชุม / จำนวนการประชุมรวม | ||
2560 | 2561 | 2562 | ||
นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ (1) | ประธานกรรมการสรรหาฯ | 1/1 | 2/2 | 2/2 |
นางสุธารักษ์ สุนทรภูษิต | กรรมการสรรหาฯ | 1/1 | 2/2 | 2/2 |
ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช (2) | กรรมการสรรหาฯ | – | 1/2 | 2/2 |
หมายเหตุ:
(1) นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการสรรหาฯ มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
(2) ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสรรหาฯ มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
3.4 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 ได้มีมติอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง จะต้องจัดให้มีการประชุมไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี โดยกรรมการต้องมาประชุมด้วยตนเองในปี 2560 – 2562 บริษัทฯ จัดประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ จำนวน 2 ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง และ จำนวน 2 ครั้ง ตามลำดับ โดยรายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่าน มีดังนี้
ชื่อ – นามสกุล | ตำแหน่ง | จำนวนครั้งที่เข้าประชุม / จำนวนการประชุมรวม | ||
2560 | 2561 | 2562 | ||
นางสุธารักษ์ สุนทรภูษิต (1) | ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง | 1/2 | 2/2 | 2/2 |
นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ | กรรมการบริหารความเสี่ยง | 2/2 | 2/2 | 2/2 |
ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช (2) | กรรมการบริหารความเสี่ยง | – | 1/2 | 2/2 |
หมายเหตุ:
(1) นางสุธารักษ์ สุนทรภูษิต ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
(2) ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารความเสี่ยง มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
4. ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร
บริษัทฯ มีการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารในระดับที่เหมาะสมและเป็นอัตราที่เพียงพอสำหรับการรักษากรรมการและผู้บริหารที่มีคุณภาพไว้โดยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนที่มากเกินควร และอยู่ในระดับที่สามารถเทียบเคียงได้กับบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ปัจจัยที่จะนำมาพิจารณา ประกอบด้วย ประสบการณ์ภาระหน้าที่ ขอบเขตของบทบาทและความรับผิดชอบ ทั้งนี้ การจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการจะต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในส่วนของค่าตอบแทนของผู้บริหาร จะเป็นไปตามหลักการและนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดไว้ ซึ่งจะพิจารณาจากภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ ผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละท่าน ประกอบกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ
5. การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร
คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้มีการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ซึ่งรวมถึง กรรมการ กรรมการตรวจสอบ ผู้บริหาร และเลขานุการบริษัทฯ เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติงานงานอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ หลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association: IOD) และหลักสูตรที่จัดโดยสถาบันอื่นๆ
กรรมการ กรรมการตรวจสอบ ผู้บริหาร และเลขานุการบริษัท ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมในหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และสถาบันอื่นๆ ดังนี้
ชื่อ – สกุล | ตำแหน่ง | หมายเหตุ |
ดร.รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ | ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ | – หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 153/2018 * |
นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ | กรรมการ รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร | – หลักสูตร Chief Transformation Officer: CTO Course 2019 โดย SEAC ประเทศไทย
– หลักสูตร Successful Formulation & Execution of Strategy (SFE) 28/2016 * – อบรมนวัตกรรม : สำหรับโครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพขั้นสูงทางนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ (ครั้งที่ 4 ) โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย(TMA) – หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 195/2014 * – หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 94/2012 * |
นายเทรเวอร์ จอห์น ทอมสัน | กรรมการ รองประธานกรรมการบริหาร และหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี | – หลักสูตร Director Certification Program English Program (DCP) รุ่น 207/2015 *
– หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 95/2012 * |
ดร. วิชัย เลาห์มาศวนิช | กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการบริหารความเสี่ยง และกรรมการสรรหาฯ | – หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 153/2018 * |
นางสุธารักษ์ สุนทรภูษิต | กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการ สรรหาฯ | – หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 219/2016 *
– หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 103/2013 * |
นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ | กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการสรรหาฯ | – หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 2006 * |
นายธิบดี มังคะลี | กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ | – หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 267/2018* |
นางรัตนา สุวรรณ | รองกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและบัญชี | – หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 188/2014*
– หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 94/2012* |
นายสาธิต รัฐเลิศกานต์ | รองกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายขาย | – หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 205/2015 *
– หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 104/2013 * – หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) สถาบันพระปกเกล้า |
นางสาววรรณภา วีระเจริญ | ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ | – หลักสูตร Successful Formulation & Execution of Strategy (SFE) 28/2016 |
นายวีรศักดิ์ อาทรชัยกุล | ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ | – อบรมนวัตกรรม : สำหรับโครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพขั้นสูงทางนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ (ครั้งที่ 4) โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย(TMA) |
หมายเหตุ:
* จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association (IOD) Courses)
นอกจากนี้ กรรมการบริษัทและผู้บริหารได้เข้าร่วมสัมมนาต่างๆ ที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และสถาบันอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ และนำมาประยุกต์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติและบริหารงาน ในปี 2562 กรรมการและผู้บริหาร ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรและสัมมนาอื่นๆ เช่น หลักสูตร Chief Transformation Officer: CTO Course โดย SEAC ประเทศไทย หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) สถาบันพระปกเกล้า เป็นต้น
6. การสรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูง
การคัดเลือกบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นกรรมการ จะกระทำผ่านการประชุมผู้ถือหุ้นโดยคณะกรรมการสรรหาฯ จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจากประสบการณ์ความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาทบทวนเพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะทำการคัดเลือกกรรมการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทฯ
6.1 องค์ประกอบและการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทฯ
องค์ประกอบและการสรรหา แต่งตั้ง ถอดถอน หรือพ้นจากตำแหน่งกรรมการของบริษัทฯ นั้น ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทฯ ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
- คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วย กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนด
- ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งกรรมการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
- ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ตนถือ
- ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่เลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ ในกรณีที่เลือกตั้งบุคคลหลายคนเป็นกรรมการจะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้
- บุคคลที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด
- ในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่งจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการในขณะนั้น ถ้าจำนวนกรรมการจะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม กรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้น ให้จับสลากกัน ส่วนปีหลังๆ ต่อไปให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง กรรมการที่จะออกตามวาระอาจถูกเลือกเข้ามารับตำแหน่งใหม่ก็ได้
- กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่งให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัทฯ การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงบริษัทฯ
- ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระคณะกรรมการอาจเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และ/หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคราวถัดไป เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือน้อยกว่า 2 เดือน บุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าว จะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงแค่วาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน มติของคณะกรรมการต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่
- ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
6.2 องค์ประกอบและการแต่งตั้งกรรมการอิสระ
คำนิยาม “กรรมการอิสระ”
กรรมการอิสระ หมายถึง กรรมการจากภายนอกที่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารหรือพนักงานประจำของบริษัทฯ ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ และเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถทำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน และสามารถช่วยดูแลไม่ให้เกิดรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทฯ กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน
คณะกรรมการบริษัทฯ จะร่วมกันพิจารณาเบื้องต้นถึงคุณสมบัติของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการตามพระราชบัญญัติมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน รวมถึงประกาศ ข้อบังคับและ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ จะพิจารณาคัดเลือกกรรมการอิสระจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประสบการณ์การทำงาน และความเหมาะสมด้านอื่นๆ ประกอบกัน จากนั้นจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทฯ ต่อไป ทั้งนี้ บริษัทฯ มีนโยบายในการแต่งตั้งกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน โดยกำหนดให้วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการอิสระรวมไม่เกิน 9 ปี อย่างไรก็ตามกรรมการอิสระสามารถกลับเข้าดำรงตำแหน่งต่อได้หากมีเหตุผลอันสมควร และกรรมการอิสระจะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละไม่เกิน 3 ปี เนื่องจากกรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งอย่างน้อยจำนวนหนึ่งในสาม (1/3) ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 กรรมการอิสระ ประกอบด้วย
ชื่อ – สกุล กรรมการอิสระ | ตำแหน่ง | วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
ดร. รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ | ประธานกรรมการ | 21 มิถุนายน 2561 | 1 ปี 6 เดือน 9 วัน |
ดร.วิชัย เลาห์มาศวนิช | ประธานกรรมการตรวจสอบกรรมการบริหารความเสี่ยง
กรรมการสรรหา |
25 มกราคม 2561 | 1 ปี 11 เดือน 7 วัน |
นางสุธารักษ์ สุนทรภูษิต | กรรมการตรวจสอบประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง
กรรมการสรรหาฯ |
30 ธันวาคม 2554 | 8 ปี |
นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ | กรรมการตรวจสอบกรรมการบริหารความเสี่ยง
ประธานกรรมการสรรหาฯ |
12 พฤษภาคม 2558 | 4 ปี 7 เดือน 19 วัน |
นายธิบดี มังคะลี | กรรมการตรวจสอบ | 21 มิถุนายน 2561 | 1 ปี 6 เดือน 9 วัน |
คุณสมบัติของกรรมการอิสระ
- ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง โดยนับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วมบริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อ ก.ล.ต.
- ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย
- ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วมหรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ หรือผู้บริหาร ของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อ ก.ล.ต.
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วมหรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปี จากบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการทางวิชาชีพเป็นนิติบุคคล ให้รวมถึงการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
- ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ
- ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ
6.3 องค์ประกอบและการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการบริษัทฯ จะเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งประกอบด้วยกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 3 ท่าน โดยแต่งตั้งจากกรรมการอิสระของบริษัทฯ ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงประกาศข้อบังคับ และ/หรือระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด กรรมการตรวจสอบแต่ละท่านจะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี นอกจากนี้ กรรมการอิสระที่ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้
-
- ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
- ไม่เป็นกรรมการของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลำดับเดียวกันเฉพาะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน
- มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในฐานะกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ ต้องมีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้
6.4 การปฐมนิเทศกรรมการใหม่
การจัดปฐมนิเทศให้กับกรรมการใหม่ เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อกรรมการใหม่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจในธุรกิจและการดำเนินงานด้านต่างๆ ของบริษัท รวมทั้งเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของกรรมการเพื่อให้การทำหน้าที่ของกรรมการมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท ดังนั้น กรรมการบริษัทจึงกำหนดนโยบายให้มีการปฐมนิเทศกรรการใหม่ทุกครั้ง และมอบหมายให้เลขานุการบริษัทจัดเตรียมและนำส่งเอกสารและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการใหม่
เมื่อคณะกรรมการสรรหาฯ ได้พิจารณาบุคคลใดที่เห็นว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นกรรมการ และได้นำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นชอบแล้ว บริษัทจะต้องให้ข้อมูลที่สำคัญทั้งก่อนและหลังการเข้าเป็นกรรมการใหม่ทราบ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
(1) ขณะที่เรียนเชิญเข้ารับตำแหน่งกรรมการ
(2) หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว และ
(3) ก่อนการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งแรก
7. การประเมินตนเองสำหรับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง
การประเมินผลตนเองสำหรับการปฏิบัติงานของรายคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1) การประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการรายบุคคล
หลักเกณฑ์: การประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการรายบุคคล เป็นเครื่องมือช่วยให้กรรมการได้ทบทวนการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง เพื่อนำไปพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการรายบุคคล ในด้านต่างๆ ดังนี้
- ด้านกลยุทธ์
- ด้านจริยธรรมและค่านิยม
- ด้านความรู้ และความเข้าใจบทบาทฐานะกรรมการ
- ด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อการประชุม
- ด้านการพัฒนาตนเอง
2) การประเมินผลการปฏิบัติงานของรายคณะ
หลักเกณฑ์: บริษัทฯ ได้นำแนวทางแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการรายคณะจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างของคณะกรรมการ โดยแบบประเมินจะประกอบด้วยหัวข้อ ดังต่อไปนี้
- โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ
- บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
- การประชุมคณะกรรมการ
- การทำหน้าที่ของกรรมการ
- ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ
- การพัฒนาตนเองของกรรมการและพัฒนาผู้บริหาร
การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการจะจัดให้มีขึ้นทุกสิ้นปี โดยเลขานุการบริษัทจะจัดส่งแบบประเมินให้กรรมการบริษัททุกท่านประเมินตนเอง และเป็นผู้รวบรวมเพื่อจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินฯ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณารับทราบผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิผลของการทำงานของคณะกรรมการบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการกำกับดูแลกิจการของบริษัท
3) การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูง
หลักเกณฑ์: บริษัทฯ ได้นำแนวทางแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูง จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับโครงสร้างองค์กรของบริษัท ซึ่งผลการประเมินจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่และการดำเนินงานของผู้บริหารระดับสูงรายบุคคลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น แบบประเมินประกอบด้วย 3 หมวด ดังนี้
การประเมินผลการปฏิบัติงานผู้บริหารระดับสูงจะจัดให้มีขึ้นทุกสิ้นปี โดยเลขานุการของคณะกรรมการบริหาร จะจัดส่งแบบประเมินให้ผู้บริหารระดับสูงทุกท่านประเมินตนเอง และเป็นผู้รวบรวม และรายงานผลสรุปผลต่อหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อพิจารณารับทราบผลการประเมินและนำข้อเสนอแนะต่างๆ มาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิผลของการทำงานของผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการกำกับดูแลกิจการของบริษัท
8. แผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
คณะกรรมการบริษัท ให้ความสำคัญในการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งงาน เพื่อเตรียมพร้อมเมื่อเกิดกรณีที่ผู้บริหารไม่สามารถปฏิบัติได้ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาลจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่งงาน โดยจัดทำและทบทวนแผนการพัฒนา ประธานกรรมการบริหาร หรือหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี (CTO) รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นแผนต่อเนื่องให้มีผู้สืบทอดงาน ในกรณีที่ CEO CTO หรือผู้บริหารระดับสูง ในตำแหน่งนั้นๆ เกษียณอายุ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เพื่อให้บริหารงานของบริษัทฯ สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
9. การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน
- ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทฯ นำความลับ และ/หรือข้อมูลภายในของบริษัทฯ ไปเปิดเผยหรือแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และไม่ว่าจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
- ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทฯ รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ที่มีหรืออาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ซึ่งยังมิได้เปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อทำการซื้อ ขาย เสนอซื้อ เสนอขาย หรือชักชวนให้บุคคลอื่นซื้อ ขาย เสนอซื้อหรือเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะกระทำเพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือเพื่อให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวโดยตนได้รับประโยชน์ตอบแทน ผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามมาตรการทางวินัยของบริษัทฯ
- บริษัทฯ ได้ดำเนินการแจ้งให้ผู้บริหารเข้าใจและรับทราบภาระหน้าที่ในการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ในบริษัทฯ ของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตลอดจนการรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 และบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
- บริษัทฯ ได้กำหนดมิให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทฯ รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วงระยะเวลา 1 เดือน ก่อนการเปิดเผยงบการเงินให้แก่สาธารณชนทราบ
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะแจ้งให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทฯ ทราบเกี่ยวกับข้อกำหนดข้างต้น
10. ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี
บริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด เป็นสำนักงานตรวจสอบบัญชีของบริษัทเป็นระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี 2555 ถึง ปี 2560 สำหรับปี 2561 ถึง ปัจจุบัน จากการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ได้อนุมัติให้ บริษัท เอเอ็นเอส ออดิท จำกัด เป็นสำนักงานตรวจสอบบัญชีของบริษัท โดยมีนางสาวกุลธิดา ภาสุรกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 5946เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีปีที่ 1 ของบริษัท ผู้ตรวจสอบบัญชีดังกล่าวไม่มีรายการเป็นบุคคลเกี่ยวโยง หรือมีการขัดแย้งผลประโยชน์ และเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นอิสระในการสอบบัญชี และนางสาวกุลธิดา ภาสุรกุล เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
ในปี 2560 – 2562 บริษัทฯ และบริษัทย่อย จ่ายค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ดังนี้
2560 (1) | 2561 | 2562 | |
บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) | |||
ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี | 1,230,000 | 1,200,000 | 1,370,000 |
ค่าบริการอื่นๆ | 80,000 | ไม่มี | ไม่มี |
บริษัท แพลนเน็ตไฟเบอร์ จำกัด (บริษัทย่อย) | |||
ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี | 80,000(2) | 250,000 | 250,000 |
ค่าบริการอื่นๆ | 470 | ไม่มี | ไม่มี |
บริษัท แพลนเน็ตคลาวด์ จำกัด (บริษัทย่อย) | |||
ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี | – | – | 90,000(3) |
ค่าบริการอื่นๆ | – | – | ไม่มี |
รวม | 1,390,470 | 1,450,000 | 1,710,000 |
หมายเหตุ
(1) ปี 2560 บริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด เป็นสำนักงานตรวจสอบบัญชี
(2) จดทะเบียน บริษัท แพลนเน็ตไฟเบอร์ จำกัด เมื่อเดือนสิงหาคม 2560
(3) จดทะเบียน บริษัท แพลนเน็ตคลาวด์ จำกัด เมื่อเดือนตุลาคม 2562